หมู่บ้านท่าลาด ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีประชากร ประมาณ 200 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ชาวบ้านในหมู่บ้านมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปตามกระแสของระบบทุนนิยม ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ แบบมุ่งเงินตรา มองข้ามแม้กระทั่งความอบอุ่นภายในครอบครัว ญาติพี่น้องต่างคนต่างอยู่ไปทำมาหากินยังต่างถิ่นทิ้งให้คนแก่ ที่เป็นปู่ย่า ตา ยาย อยู่เฝ้าบ้านอย่างโดดเดี่ยว และเด็กๆวัยรุ่น ที่ไม่มีพลังที่จะต่อสู้กับการสร้างฐานของชีวิต หลายคนขาดศรัทธากับการศึกษา มองไม่เห็นคุณค่าของตนเอง
หลายคนหันไปพึ่งยาเสพติดและมั่วสุมกันตามแหล่งสถานบันเทิงต่าง ส่วนใหญ่มองว่าเงินตราสามารถสร้างความสุข และพยายามหาเงินด้วยวิธีการต่างๆแม้กระทั่งด้วยวิธีที่ทุจริต บางคนไม่คำนึงถึงความพอเพียง จนเกิดภาระหนี้สิ้น ตลอดชีวิตจึงมุ่งทำงานหาเงินโดยละทิ้งสิ่งที่ทรงไว้ซึ่งคุณค่าแต่ชีวิตและจิตใจ นั่นคือครอบครัว สังคมแบบญาติมิตร และศาสนา โดยข้อมูลที่ประจักษ์ชัดคือการ ละเลย ไม่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมภายในหมู่บ้าน กล่าวคือประเพณีประจำปีที่ถือปฏิบัติกันทุกปี เช่น กิจกรรมวันปีใหม่ ปกติเวลาถึงช่วงปีใหม่ ค่ำคืนวันที่ 31 ธันวาคม ชาวบ้านและเด็กๆ จะมาร่วมจับฉลากแลกของขวัญปีใหม่กันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน แต่กิจกรรมวันปีใหม่ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา กลับพบเห็นแต่เด็กๆ ประมาณ 20 คน เท่านั้น จะมีผู้ใหญ่หน่อยก็เป็นผู้แก่ผู้เฒ่าเล็กน้อยมาร่วมให้กำลังใจเด็กๆ และในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันปีใหม่ ในระหว่างพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเช้าจะมีการบายศรี และผูกแขนระหว่างผู้เฒ่าผู้แก่ และชาวบ้านรวมถึงเด็กๆ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่เน้นความสามัคคีของชาวบ้าน แต่ปัจจุบัน กลับเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คือกิจกรรมผูกแขนหรือการบายศรีสู่ขวัญกลับหายไปอย่างน่าเสียดาย ทุกคนเมื่อพระฉันภัตตาหารเสร็จ ต่างเก็บข้าวของตนเองกลับบ้านของตนเอง ไม่แม้กระทั่งมานั่งทานข้าวร่วมกันหลังจากพระฉันภัตตาหารเสร็จ ซึ่งเป็นภาพที่น่าอดสูใจเป็นอย่างยิ่ง และอีกกิจกรรมหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมสลายของการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี นั่นก็คือ ประเพณีวันสงกรานต์ของหมู่บ้าน ปกติสงกรานต์จะเป็นประเพณีที่สนุกสนานและผสมผสานกับการสร้างสัมพันธภาพและความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมสรงน้ำพระ เมื่อถึงเวลาสรงน้ำพระทุกคนจะกุลีกุจอจัดหาขมิ้นมาฝนผสมลงไปในน้ำ ในขัน เมื่อได้ยินเสียงกลองจากวัด ทุกคนจะเดินมาเป็นกลุ่มๆ อาจจะมีการสาดน้ำกันบ้างในกลุ่มของเด็กๆ แต่ปัจจุบัน ทุกคนต่างคนต่างมา และจำนวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา และยิ่งกว่านั้นกิจกรรมก่อพระเจดีย์ทราย ปี 2551 จากการได้พูดคุยกับพระสงฆ์ท่านบอกว่าปีนี้(พ.ศ.2551) มีชาวบ้านมาก่อเจดีย์ทรายแค่ 2 กอง แต่เมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา พระสงฆ์ และกลุ่มอุบาสกอุบาสิกาที่มารักษาศีลอุโบสถได้ปรึกษาหารือ ในการรื้อฟื้นกิจกรรมในวันสงกรานต์ที่ถูกมองข้ามไปในปีก่อนๆ ให้กลับคืนมาเหมือนเดิม ซึ่งเป็นการจัดแบบเล็กๆ เรียบง่าย เช่นจัดให้มีการสรงน้ำพระอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน และร่วมรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ มีการแห่ดอกไม้ มาบูชาพระ การร่วมกันก่อเจดีย์ทรายแบบพร้อมหน้าพร้อมตากัน ซึ่งชาวบ้านที่เข้ามาร่วมกิจกรรมต่างมีความพอใจและอยากให้มีการขยายผลไปยังประเพณีอื่นๆของหมู่บ้าน แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มพระสงฆ์ และอุบาสิกอุบาสิกากลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่ร่วมปรึกษาหารือและทำกิจกรรมกันขึ้นมา ยังขาดความชัดเจนและขาดการประชาสัมพันธ์กับชาวบ้านทั้งนี้เพราะเป็นการจัดกิจกรรมแบบลองดู แต่ชาวบ้านก็รู้สึกพอใจกับการสร้างสรรค์กิจกรรมฟื้นฟูประเพณีสงกรานต์ในครั้งนี้เป็นอย่างมาก
พระสงฆ์และกลุ่มอุบาสกอุบาสิกา ได้มีโอกาสพูดคุยถึงกระแสตอบรับที่ดีในการฟื้นฟูกิจกรรมวันสงกรานต์ และมีความคิดที่จะ ขยายผลกิจกรรมของประเพณีต่างๆภายในหมู่บ้านให้ครอบคลุมทุกประเพณี ให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมและเป็นรูปแบบที่ยั่งยืน จึงจัดทำโครงการ “เอิ้นขวัญประเพณี รักษ์วิธีพุทธธรรม” ขึ้นมา โดยโครงการนี้จะมีการสอดแทรกวิถีชีวิตของความพอเพียงผสมผสานกับนำหลักวิถีพุทธมาสู่ชาวบ้านผ่านกิจกรรมทางศาสนาซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในกิจกรรมขยายผลที่จะทำต่อไป ยิ่งกว่านั้นกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีเหล่านี้จะเป็นเวทีเรียนรู้สู่กระบวนการลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอนาคต เพื่อสร้างสรรค์สังคมวิถีพุทธ ที่มีบรรยากาศของความสมัครสมานสามัคคีตามรูปแบบของคนอิสาน ผ่านการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณี อย่างมีส่วนร่วมของพี่น้องชาวบ้านท่าลาด ให้ประเพณี และสังคมอันดีงามนี้ กลับคืนสู่ชาวบ้าน หมู่บ้านท่าลาดต่อไป
หลายคนหันไปพึ่งยาเสพติดและมั่วสุมกันตามแหล่งสถานบันเทิงต่าง ส่วนใหญ่มองว่าเงินตราสามารถสร้างความสุข และพยายามหาเงินด้วยวิธีการต่างๆแม้กระทั่งด้วยวิธีที่ทุจริต บางคนไม่คำนึงถึงความพอเพียง จนเกิดภาระหนี้สิ้น ตลอดชีวิตจึงมุ่งทำงานหาเงินโดยละทิ้งสิ่งที่ทรงไว้ซึ่งคุณค่าแต่ชีวิตและจิตใจ นั่นคือครอบครัว สังคมแบบญาติมิตร และศาสนา โดยข้อมูลที่ประจักษ์ชัดคือการ ละเลย ไม่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมภายในหมู่บ้าน กล่าวคือประเพณีประจำปีที่ถือปฏิบัติกันทุกปี เช่น กิจกรรมวันปีใหม่ ปกติเวลาถึงช่วงปีใหม่ ค่ำคืนวันที่ 31 ธันวาคม ชาวบ้านและเด็กๆ จะมาร่วมจับฉลากแลกของขวัญปีใหม่กันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน แต่กิจกรรมวันปีใหม่ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา กลับพบเห็นแต่เด็กๆ ประมาณ 20 คน เท่านั้น จะมีผู้ใหญ่หน่อยก็เป็นผู้แก่ผู้เฒ่าเล็กน้อยมาร่วมให้กำลังใจเด็กๆ และในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันปีใหม่ ในระหว่างพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเช้าจะมีการบายศรี และผูกแขนระหว่างผู้เฒ่าผู้แก่ และชาวบ้านรวมถึงเด็กๆ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่เน้นความสามัคคีของชาวบ้าน แต่ปัจจุบัน กลับเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คือกิจกรรมผูกแขนหรือการบายศรีสู่ขวัญกลับหายไปอย่างน่าเสียดาย ทุกคนเมื่อพระฉันภัตตาหารเสร็จ ต่างเก็บข้าวของตนเองกลับบ้านของตนเอง ไม่แม้กระทั่งมานั่งทานข้าวร่วมกันหลังจากพระฉันภัตตาหารเสร็จ ซึ่งเป็นภาพที่น่าอดสูใจเป็นอย่างยิ่ง และอีกกิจกรรมหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมสลายของการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี นั่นก็คือ ประเพณีวันสงกรานต์ของหมู่บ้าน ปกติสงกรานต์จะเป็นประเพณีที่สนุกสนานและผสมผสานกับการสร้างสัมพันธภาพและความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมสรงน้ำพระ เมื่อถึงเวลาสรงน้ำพระทุกคนจะกุลีกุจอจัดหาขมิ้นมาฝนผสมลงไปในน้ำ ในขัน เมื่อได้ยินเสียงกลองจากวัด ทุกคนจะเดินมาเป็นกลุ่มๆ อาจจะมีการสาดน้ำกันบ้างในกลุ่มของเด็กๆ แต่ปัจจุบัน ทุกคนต่างคนต่างมา และจำนวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา และยิ่งกว่านั้นกิจกรรมก่อพระเจดีย์ทราย ปี 2551 จากการได้พูดคุยกับพระสงฆ์ท่านบอกว่าปีนี้(พ.ศ.2551) มีชาวบ้านมาก่อเจดีย์ทรายแค่ 2 กอง แต่เมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา พระสงฆ์ และกลุ่มอุบาสกอุบาสิกาที่มารักษาศีลอุโบสถได้ปรึกษาหารือ ในการรื้อฟื้นกิจกรรมในวันสงกรานต์ที่ถูกมองข้ามไปในปีก่อนๆ ให้กลับคืนมาเหมือนเดิม ซึ่งเป็นการจัดแบบเล็กๆ เรียบง่าย เช่นจัดให้มีการสรงน้ำพระอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน และร่วมรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ มีการแห่ดอกไม้ มาบูชาพระ การร่วมกันก่อเจดีย์ทรายแบบพร้อมหน้าพร้อมตากัน ซึ่งชาวบ้านที่เข้ามาร่วมกิจกรรมต่างมีความพอใจและอยากให้มีการขยายผลไปยังประเพณีอื่นๆของหมู่บ้าน แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มพระสงฆ์ และอุบาสิกอุบาสิกากลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่ร่วมปรึกษาหารือและทำกิจกรรมกันขึ้นมา ยังขาดความชัดเจนและขาดการประชาสัมพันธ์กับชาวบ้านทั้งนี้เพราะเป็นการจัดกิจกรรมแบบลองดู แต่ชาวบ้านก็รู้สึกพอใจกับการสร้างสรรค์กิจกรรมฟื้นฟูประเพณีสงกรานต์ในครั้งนี้เป็นอย่างมาก
พระสงฆ์และกลุ่มอุบาสกอุบาสิกา ได้มีโอกาสพูดคุยถึงกระแสตอบรับที่ดีในการฟื้นฟูกิจกรรมวันสงกรานต์ และมีความคิดที่จะ ขยายผลกิจกรรมของประเพณีต่างๆภายในหมู่บ้านให้ครอบคลุมทุกประเพณี ให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมและเป็นรูปแบบที่ยั่งยืน จึงจัดทำโครงการ “เอิ้นขวัญประเพณี รักษ์วิธีพุทธธรรม” ขึ้นมา โดยโครงการนี้จะมีการสอดแทรกวิถีชีวิตของความพอเพียงผสมผสานกับนำหลักวิถีพุทธมาสู่ชาวบ้านผ่านกิจกรรมทางศาสนาซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในกิจกรรมขยายผลที่จะทำต่อไป ยิ่งกว่านั้นกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีเหล่านี้จะเป็นเวทีเรียนรู้สู่กระบวนการลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอนาคต เพื่อสร้างสรรค์สังคมวิถีพุทธ ที่มีบรรยากาศของความสมัครสมานสามัคคีตามรูปแบบของคนอิสาน ผ่านการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณี อย่างมีส่วนร่วมของพี่น้องชาวบ้านท่าลาด ให้ประเพณี และสังคมอันดีงามนี้ กลับคืนสู่ชาวบ้าน หมู่บ้านท่าลาดต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น